5 สิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อให้เป็นห้องเรียนแห่งอนาคตแบบซัมซุง

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget]
[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Button_Widget”][/siteorigin_widget]

ห้องเรียนแห่งอนาคตของซัมซุง คือ แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ซึ่งเอื้อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านการทำโครงงาน ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งสนับสนุนให้ผู้เรียนฝึกตั้งคำถาม หาคำตอบ เรียนวิธีสืบค้นข้อมูล ฝึกคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

แนวคิด “ห้องเรียนแห่งอนาคต” สามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนที่มีบริบทแตกต่างกัน และเกิดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ช่วยแก้ปัญหาของแต่ละโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความต่างนั้น “ห้องเรียนแห่งอนาคต” ของทุกโรงเรียนล้วนมีองค์ประกอบร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการสร้าง “ห้องเรียนแห่งอนาคต”

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Headline_Widget”][/siteorigin_widget]

1

เสริมพลังผู้เรียน

  • ครูเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน
  • ครูลดอำนาจ เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกำหนดการเรียนรู้
  • ครูสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าตั้งคำถาม และกล้าที่จะแก้ปัญหาใหญ่

2

พื้นที่ทางกายภาพและการเข้าถึงเทคโนโลยี

  • พื้นที่กายภาพเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ (โต๊ะกลม ไม่มีหน้าห้องหรือหลังห้อง ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามโจทย์การทำงาน)
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเสริมศักยภาพในการทำงานและเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล
  • ส่งเสริมให้ทำงานเป็นกลุ่ม ค้นคว้าร่วมกัน

3

ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

  • ผู้เรียนร่วมกำหนดหัวข้อและแนวทางการเรียนรู้ เป็นผู้ตั้งคำถามและหาคำตอบ
  • ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้เป็นโค้ชผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้
  • งานวิจัยไม่ได้ทำเพื่อเน้นย้ำความรู้ในตำรา แต่เป็นเครื่องมือเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ และแก้ปัญหาในชีวิตจริง

4

ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

  • เชื่อมชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ข้ามขีดจำกัดทางทรัพยากรของโรงเรียน
  • รู้จักความแตกต่างหลากหลายในชุมชน
  • เรียนรู้ปัญหา พัฒนาทางออก และผลักดันการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
  • สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง ภาครัฐและภาคเอกชน

5

จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทันโลก

  • การเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาที่เท่าทันความเป็นไปของโลก เพื่อเตรียมผู้เรียนให้รับมือกับอนาคต
  • การเรียนวิชาแกนควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21
  • วัดผลการเรียนรู้จากการพัฒนาตนของผู้เรียน และสามารถสื่อสารข้อค้นพบผ่านสื่อที่หลากหลาย รวมถึงสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้

สร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการสหสาขาวิชาที่เชื่อมโยงกับแนวคิดหลักแห่งศตวรรษที่ 21 (21st  century interdisciplinary themes) ได้แก่

  1. รู้เท่าทันความเป็นไปของโลก
  2. รู้จักการทำมาหากิน
  3. รู้สิทธิหน้าที่ การมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง
  4. รู้รักษาสุขภาพกายใข
  5. รู้รักษาสิ่งแวดล้อม