
แนวปฏิบัติในการดำเนินโครงการฯ
จากการประชุม “สำรวจรอยเท้า ก่อนก้าวกระโดด”
ผ่านไปแล้วสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการ “สำรวจรอยเท้า ก่อนก้าวกระโดด” วันที่ 28-29 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งจัดให้กับคุณครูที่ปรึกษาจาก 6 โรงเรียน ที่เพิ่งทำโครงการเป็นปีแรก เพื่อเป็นโอกาสให้คุณครูได้ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา และเพื่อพัฒนาแผนงานในปีการศึกษาต่อไปให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ในการประชุมครั้งนี้ เรามีวิทยากร 4 ท่าน คือ คุณครูกัญจณา อักษรดิษฐ์ คุณครูบริสุทธิ์ อักษรดิษฐ์ คุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า และคุณครูสัญญา มัครินทร์ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินโครงการ และตอบข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทคุณครูที่เข้าร่วมการประชุมที่จะได้ เรียนรู้-ปรับใช้-ไปต่อ ในปีการศึกษาต่อไป
คุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จ.มหาสารคาม นำเรื่องราวการทำโครงงานเพื่อผลักดันป่าโคกหนองคองจากป่าสาธารณะ ให้เป็นป่าชุมชนด้วยพลังของเด็กๆ ในชุมนุมซัมซุงฯ
(ติดตามเรื่องป่าชุมชนที่เชียงยืนได้จากบทความ "ถามเบาๆ.....สะเทือนทั้งป่า และ ชมวิดิทัศน์กรณีศึกษาป่าชุมชน)
คุณครูสัญญา มัครินทร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จ.ขอนแก่น มาพูดคุยกับเรา ในหัวข้อ หลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นศึกษา กับวิชา “สัมมาอาชีวศิลป์” เพื่อให้เด็กได้เรียนทั้งวิชาในหลักสูตร และทักษะชีวิตควบคู่กัน เน้นเรื่องการเรียนรู้ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตนอกเหนือจากห้องเรียน โดยมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักเรียนสนุกที่ได้เรียน และชอบในหัวข้อที่ทำ รวมถึงได้พัฒนาทักษะรอบตัวเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต
วิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้ถ่ายทอดวิธีกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และเทคนิคการบริหารโครงการที่ใช้ได้ผล
สรุปบทเรียนและแนวปฏิบัติ
จากเรื่องราวของวิทยากรและการพูดคุยในวงสนทนา จะสังเกตเห็นไว้ว่า วิทยากรได้นำการเรียนรู้ที่มีปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) มาเป็นหัวข้อโครงงาน ทำให้เด็กๆ ต้องศึกษา ทดลอง แสวงหาคำตอบ เพื่อแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิตจากการเลี้ยงกบ อาชีพที่เหมาะกับนักเรียน หรือ ข้อเสนอที่จะเปลี่ยนป่าสาธารณะให้เป็นป่าชุมชน
การเรียนรู้ที่มีปัญหาเป็นฐาน เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เด็กต้องหาวิธีแก้ปัญหา ซึ่งทำให้มีเด็กๆ มีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทดลองทำ และต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ทางโครงการฯ จึงได้สรุปบทเรียนและแนวปฏิบัติจากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ออกมาเป็นหัวข้อต่างๆ และจะทยอยนำเสนอ เพื่อให้คุณครูท่านอื่นๆ สามารถนำแนวคิด ไปปรับใช้กับโครงการในปีต่อไป ดังนี้
ทางโครงการฯ หวังว่า แนวปฏิบัติดังนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณครู ที่จะพัฒนาโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต และ “ก้าวกระโดด” อย่างมีพลังไปพร้อมกัน
วิทยากรของเรา
คุณครู กัณจณา อักษรดิษฐ์ จากโรงเรียนเทิงวิทยาคม จังหวัดเชียงราย คุณครูประจำวิขาวิทยาศาสตร์ที่พาเด็กๆ ศึกษาหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มทำโครงการฯ คุณครูให้เด็กศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ในชุมชน ในมิติต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่น้ำอิง ตั้งแต่เรื่องของลุ่มน้ำ ชาติพันธ์ุ และรายได้ของชุมชนที่เกิดจากแม่น้ำอิง ต่อมาได้มีการศึกษาเรื่องการปลูกหอมแดง และมาสู่เรื่องการศึกษาเรื่องการเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงกบ ในปีการศึกษา 2559/2560
คุณครูกัณจนา กับ คุณครู บริสุทธิ์ อักษรดิษฐ์ ซึ่งเป็นครูประจำวิชาศิลปะ ช่วยกันดูแลชุมนุมซัมซุงฯ ที่โรงเรียนเทิงวิทยาคม จนย่างเข้าปีที่ 5 ของการดำเนินโครงการ ปัจจุบัน คุณครูทั้งสองท่าน ร่วมกันเป็นโค้ช ดูแลนักเรียนมัธยมต้นกว่า 130 คน ในการทำโครงงาน
คุณครู เพ็ญศรี ใจกล้า จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม คุณครูสอนวิชาสังคมศึกษาพาเด็กๆ ทำโครงการเพื่อชุมชน โดยเริ่มจากคำถามเล็กๆ ของเด็ก ที่คุณครูไม่ละเลยที่จะผลักดันให้เด็กไปช่วยกันคิดต่อ จนสิ่งที่เด็กค้นพบนำไปสู่ปัญหาชุมชน อย่างปัญหาขยะในป่าโคกหนองคอง และผลักดันให้ป่าแห่งนี้ กลายเป็นป่าชุมชน ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ฮักนะ ป่าใหญ่” ของเด็กๆ โดยคุณครูมีเป้าหมายให้เด็ก ได้เรียนรู้ทักษะการคิดจากการแก้ไขปัญหาชุมชน
(ติดตามเรื่องป่าชุมชนที่เชียงยืนได้จากบทความ "ถามเบาๆ.....สะเทือนทั้งป่า และ ชมวิดิทัศน์กรณีศึกษาป่าชุมชน)
คุณครู สัญญา มครินทร์ จากโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จังหวัดขอนแก่น คุณครูในระดับชั้นม.1 ที่เน้นเรื่องการเรียนรู้ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตนอกเหนือจากห้องเรียน โดยมีเทคนิกการสอนที่ทำให้นักเรียนสนุกที่ได้เรียน และชอบในหัวข้อที่ทำ รวมถึงได้พัฒนาทักษะรอบตัวเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต โดยคุณครู และทีมครูโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ได้ผสมผสานระหว่างหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกับการเรียนรู้แบบการศึกษาทางเลือก ในชื่อวิชา “หลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นศึกษา” ซึ่งรวมเอาวิชา ศิลปศึกษา ภาษาไทย สังคมศึกษา และวิชาแนะแนว มาเรียนในหลักสูตรบูรณาการท้องถิ่น ซึ่งมีชั่วโมงเรียน 9 คาบ/สัปดาห์
Chet Chetsandtikhun
Latest posts by Chet Chetsandtikhun (see all)
- ขับเคลื่อนโครงการฯ ด้วยวิธี “เด็กเคลื่อนเด็ก” - 24/03/2017
- วิธีพาเด็กหาหัวข้อโครงงาน - 27/02/2017
- หัวข้อโครงงานแบบไหนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ - 17/02/2017